สวัสดีค่ะ
วันนี้มีโอกาสเข้ามาเขียนบล็อก ทักทายกับเพื่อนๆ อีกครั้งค่ะ
หวังว่าทุกท่านจะสบายดีนะคะ
มีใครรู้สึกหรือมองเห็นว่ามีกระแสไฟฟ้าวิ่ง
แปล็บๆ ปล๊าบๆ อยู่ในหัวของเรา หรือของคนอื่นๆ บ้างไหมคะ?
เราเคยเห็นภาพวาดขององค์ศาสดาทางศาสนาหลายศาสนา
ที่มีวงแสงสว่างเรืองอยู่รอบๆ พระเศียร...
แสงแบบนั้นอาจจะส่องเรืองออกมาจริงๆ
ก็ได้นะ
ทำไมหรือ?
#####
ก็บรรดานักประสาทวิทยา
นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นคว้าเกี่ยวกับการทำงานของสมองคนเรา บอกว่า ในสมองของคนเรานั้น
มีเส้นใยประสาทรับส่งข้อมูลติดต่อประสานกันไปมา
โดยผ่านสารเคมีและประจุไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลาเลย
ดังนั้น
หากใครใช้ความคิดมากๆ สมองก็ยิ่งทำงานหนัก
น่าจะมีกระแสประจุไฟฟ้าและสารเคมีวิ่งไปมาอยู่มากมาย
จนทำให้มีแสงเรืองออกมาก็เป็นได้...
หรือท่านว่ายังไงคะ?
#######
มีกรณีที่นิยมทำกันมาก
เช่น การให้ลูกที่อยู่ในท้องได้ฟังเสียงเพลง และเสียงเล่านิทานของพ่อแม่...
ฉันว่านั่นเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งเลยค่ะโดยเฉพาะเมื่อลูกในครรภ์มีอายุย่างเข้าเดือนที่
4-5 เป็นต้นไปค่ะเพราะว่า
ในช่วงระยะนี้เอง อวัยวะที่เกี่ยวกับการได้ยินได้พัฒนาขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว
ดังนั้น
ทารกจึงพร้อมที่จะรับฟังเสียงต่างๆ ที่เข้าสู่ระบบในลักษณะคลื่นที่มีรูปแบบต่างๆ
และสมองก็จะสร้างเซลล์ประสาทขึ้นเพื่อตอบสนองต่อลักษณะของเสียงที่ผ่านเข้ามาและเก็บไว้เป็นข้อมูล
หรือเรียกว่าการสร้าง
“แผนที่การได้ยิน” เอาไว้... วาวววว...
#######
ดังนั้น
เมื่อเด็กเล็กๆ ได้ยินสำเนียงเสียงต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ยิ่งมากเท่าใด
สมองก็จะสร้างเซลล์ประสาทขึ้นรองรับเสียงต่างๆ มากเท่านั้น และการได้ยินยังส่งผลให้เด็กขยับกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการออกเสียงนั้นๆ
ไปโดยอัตโนมัติด้วย
อันนี้ก็มีการพิสูจน์แล้วค่ะ
เมื่อเด็กคลอดออกมา เซลล์ประสาทส่วนนี้ของสมองก็มีไขสมองห่อหุ้มเรียบร้อยแล้วค่ะ
และก็มีส่วนทำให้เด็กสามารถร้องออกเสียงอุแว๊ๆๆ ได้ไงคะ
ข้อมูลที่สมองเก็บไว้ในลักษณะของเซลล์ประสาทที่เชื่อมต่อกันนี้
เมื่อมีเสียงประเภทเดียวกัน หรือข้อมูลในกลุ่มเดียวกันเข้ามาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง
ก็จะนำไปสู่การเรียนรู้ทางด้านภาษา และด้านอื่นๆ ของเด็กคนนั้นในเวลาต่อมาค่ะ
#######
มีข้อมูลที่น่าสนใจว่า
ภาษาที่คนทั่วโลกพูดกันมีอยู่นับเป็นพันๆ นั้น
ประกอบขึ้นจากเสียงที่เปล่งออกมาทั้งหมดเพียงประมาณ 50 เสียงเท่านั้นค่ะ!
ดังนั้น
ความกลัวที่ว่า หากเด็กเติบโตในแหล่งที่มีคนพูดหลายๆ ภาษาจะทำให้เด็กสับสนนั้น
จึงไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น ในทางตรงกันข้าม
น่าจะเป็นฐานที่ดีสำหรับการพัฒนาภาษาในอนาคตของเด็กคนนั้น
เพราะสมองมีเซลล์ประสาทรองรับเสียงต่างๆ จำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม
การสร้างเซลล์ประสาทรับเสียงนี้ดูเหมือนจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงวัยอ่อนมากๆ
เท่านั้นค่ะ
#########
อาจสรุปได้ไหมคะว่า...การให้เด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์
(ประมาณ 4-5 เดือนเป็นต้นมา)ได้ยินได้ฟังเสียงที่หลากหลายที่เกิดขึ้นในโลกยิ่งมากยิ่งดี?
ฉันเห็นด้วยอย่างมากค่ะ
ท่านล่ะเห็นด้วยไหมคะ?
และฉันเห็นว่าหนทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยขยายการรับรู้ทางสมองของเด็ก
ก็คือการให้ฟังเสียงดนตรี....
ดนตรีประเภทใดก็ได้ค่ะ ฉันว่าได้ทุกชนิดเลย
และเมื่อเด็กเริ่มเรียนภาษา ก็เริ่มให้เล่นเครื่องดนตรีต่างๆ ที่เค้าชอบไปด้วย
ดนตรีประเภทใดก็ได้ค่ะ ฉันว่าได้ทุกชนิดเลย
และเมื่อเด็กเริ่มเรียนภาษา ก็เริ่มให้เล่นเครื่องดนตรีต่างๆ ที่เค้าชอบไปด้วย
#######
มีผลการศึกษาค้นคว้าจำนวนมากแล้วค่ะ
โดยเฉพาะในสหรัฐ ที่ยืนยันว่า การให้เด็กได้ฝึกการดนตรีแต่เล็ก
มีผลต่อพัฒนาการของสมองส่วนของการฟัง (Brain’s auditory cortex) อย่างมาก
โดยเฉพาะการให้เด็กได้มีโอกาสฝึกเล่นเครื่องดนตรีที่ผสมกันเป็นวง เช่น ออร์เคสตรา
หรือกระทั่งวงแบบร็อคก็ได้ พบว่า ผลของมันทำให้สมองส่วนนี้มีขนาดใหญ่ขึ้น
ทำให้มีสมาธิและมีความจำดีขึ้น ซึ่งจะเป็นการสร้างฐานสำหรับการเรียนรู้ด้านต่างๆ
อย่างกว้างขวางสำหรับเด็ก
อย่างไรก็ตาม
ผลการวิจัยบอกว่า หากเป็นการฟังเฉยๆ เช่นฟังดนตรีโมซาร์ท
จะไม่ก่อให้เกิดผลเหมือนการฝึกเล่นเครื่องดนตรีโดยตรง
แต่ก็มีผลการศึกษาบางชิ้นบ่งชี้ว่า
การฟังดนตรี (โดยไม่ได้ฝึกเล่นเครื่องดนตรี)
อาจช่วยในเรื่องของสมาธิการทำข้อสอบที่อาศัยการท่องจำได้ดี
อย่างน้อยก็ชั่วระยะสั้นๆ
#######
กล่าวได้เลยว่า
ให้เด็กฝึกเล่นเครื่องดนตรี เป็นการสร้างฐานเพื่อการเรียนรู้ของสมองให้แก่เด็กที่ดีมากทางหนึ่งเลยทีเดียวนะคะ
######
โอ๊ะ! เที่ยวนี้เขียนยาวกว่าทุกครั้ง
ต้องลาไปก่อนนะคะ
รักคนอ่านเสมอค่ะ
No comments:
Post a Comment